วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

นักพฤกษศาสตร์ไทยชี้เป็นไปได้ "ต้นสน" งอกในปอดคน แต่สงสัยโตได้ไง!

ภาพฉายรังสีเอกซ์ให้เห็นว่ามีต้นสนอยู่ภายในปอดของชายรัสเซีย (ภาพจากเดลีเมล)

นายอาร์เทียม ไซดอร์กิน ผู้มีต้นสนงอกในปอด (ภาพเดลีเมล)

ภาพต้นสนที่งอกในปอด (ภาพเดลีเมล)

ดร.เฉลิมพล เกิดมณี

ดร.ปิยะศักดิ์ ชอุ่มพฤกษ์

เป็นที่น่าตื่นตะลึงทีเดียวสำหรับกรณี "ต้นสน" งอกในปอดชายชาวรัสเซีย และชวนให้สงสัยว่าไม้ยืนต้นชนิดนี้เติบโตภายในปอดคนได้อย่างไร ซึ่งนักพฤกษศาสตร์ได้ให้ความเห็นว่าเป็นไปได้ที่เมล็ดจะงอกได้ในที่ไม่มีแสง แต่ยังสงสัยว่าโตได้อย่างไร

ตามรายงานของเดลีเมลที่ระบุว่า ศัลยแพทย์ได้ผ่าตัดปอดของ อาร์เทียม ไซดอร์กิน (Artyom Sidorkin) ชายชาวรัสเซียวัย 28 ปี และต้องตกตะลึงเมื่อพบต้นสนที่โตถึง 5 เซนติเมตร อยู่ภายในปอดของชายคนนี้ แทนที่จะเป็นมะเร็งตามที่วินิจฉัยไว้ตั้งแต่แรก ทั้งนี้ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ จึงได้สอบถามความเห็นของนักพฤกษศาสตร์ไทยถึงความเป็นไปได้ในการเกิดกรณีเช่น นี้

ดร.เฉลิมพล เกิดมณี นักวิจัยและหัวหน้าห้องปฏิบัติการสรีระวิทยาและชีวเคมีด้านพืช ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ให้ความเห็นต่อทีมข่าววิทยาศาสตร์ว่า เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ เพราะสนมีเมล็ดขนาดเล็กมาก เท่าๆ เมล็ดงา แต่เป็นเมล็ดแบนๆ และสามารถปลิวไปตามลม

อีก ทั้งภายในปอดยังมีความชื้น อากาศ และเลือดซึ่งมีแร่ธาตุให้เมล็ดสนนำไปใช้ได้ ซึ่งต้นสนก็สามารถโตได้แต่โตได้ไม่มาก และหากทิ้งไว้พืชเหล่านี้อาจงอกออกมายังช่องอากาศ เนื่องจากพืชเหล่านี้มีความสามารถในการงอกหาแสง ซึ่งเรื่องทีเกิดขึ้นน่าจะเป็นความบังเอิญที่เมล็ดหล่นเข้าไปในทางเดินหายใจ

ส่วน ดร.ปิยะศักดิ์ ชอุ่มพฤกษ์ อาจารย์จากภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้ความเห็นต่อทีมข่าววิทยาศาสตร์ว่า เมล็ดสนสามารถงอกในปอดได้ เพราะกระบวนการงอก ไม่ต้องใช้แสงอยู่แล้ว

ทั้งนี้ภายในปอดมีสภาพที่เหมาะสมต่อการงอกของเมล็ด คือความชื้นภายในปอดน่าจะเพียงพอต่อการงอก และยังมีแร่ธาตุกับน้ำเลือดที่เป็นเหมือนอาหารเลี้ยงให้งอกได้ เหมือนถั่วงอกที่ไม่ต้องใช้แสง

อย่างไรก็ดี ดร.ปิยะศักดิ์ตั้งข้อสงสัยว่า หลังจากงอกแล้วต้นสนโตถึง 5 เซนติเมตรได้อย่างไร โดยหากโตได้เหมือนถั่วงอกซึ่งไม่ต้องใช้แสงก็น่าจะยืดยาวออกไปเหมือนถั่ว ไม่น่าจะแตกกิ่งก้านออกไปได้ แต่ต้นสนก็ยังแตกต่างจากถั่วอยู่ดี

ทั้งนี้เขาได้ติดตามข่าวดังกล่าวเช่นกัน แต่ไม่ได้เห็นภาพของต้นสนที่งอกในปอดชัดเจน ซึ่งหากได้เห็นก็อาจบอกได้มากกว่านี้ พร้อมบอกด้วยว่าเรื่องที่เกิดขึ้นนี้ "พิศดารมาก"

สำหรับไซเดอร์กิน ผู้ทำให้วงการแพทย์และชีววิทยาต้องฉงนนั้น มีอาการไอออกมาเป็นเลือด และแพทย์ได้วินิจฉัยว่าเขาเป็นมะเร็งปอดอย่างแน่นอน 100% ซึ่งเมื่อฉายรังสีเอกซ์ ก็ได้พบสิ่งต้องสงสัยที่คล้ายเนื้อร้าย แต่เมื่อผ่าตัดออกมาแล้วกลับทำให้แพทย์ผู้ทำการรักษาถึงกับไม่เชื่อสายตาตัว เอง ขณะที่เขาเองก็มั่นใจว่าตัวเองไม่น่าจะเป็นมะเร็ง และการที่เขาไอออกมาเป็นเลือดนั้น แพทย์เชื่อว่าน่าจะเป็นเพราะรากของต้นสนที่ชอนไชอยู่ภายในปอด

เรื่องนี้ได้รับการนำเสนอโดยหนังสือพิมพ์แทบลอยด์คอมโซมอลสกายา (Komsomolskaya Gazeta) ที่มีชื่อเสียงมากของรัสเซีย และนำเสนอต่อโดยสำนักข่าวโนโวสตี (Novosti) ของรัสเซีย.



ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.manager.co.th



free-typing
play-game
funny
card
word
games-for-married-couples
mario
funbrain
free-java-mobile
nickelodeon

แฟนสตาร์เทร็คคงได้เห็น "ยานวอร์ป" ของจริง-อิงฟิสิกส์

ยานวอร์ปในจินตนาการจากภาพยนตร์ไซ-ไฟ "สตาร์เทร็ค" อาจประดิษฐ์ขึ้นได้จริงตามหลักฟิสิกส์ (ภาพ startrek2.com)

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
นักท่องเที่ยวถ่ายภาพร่วมกับหุ่นขี้ผึ้งตัวละครสตาร์เทร็ค ในส่วนแสดงนิทรรศการสตาร์เทร็ค ในลอสแองเจลลิส สหรัฐฯ (ภาพเอเอฟพี)

แฟนๆ สตาร์เทร็คมีสิทธิกรี๊ดกับข่าวนี้ เมื่อนักฟิสิกส์ออกมาเผยว่า "ยานวอร์ป" หนึ่งในนวัตกรรมสุดล้ำจากภาพยนตร์ไซ-ไฟสุดอลัง มีโอกาสออกมาโลดแล่นในโลกแห่งความเป็นจริงสักวันหนึ่ง

วิเคราะห์กันให้เห็นจริงตามข้อมูลที่เสนอโดยสเปซด็อทคอม ซึ่งนักฟิสิกส์บางคนได้ระบุว่าเทคโนโลยีของการเดินทางได้เร็วกว่าแสงนั้น จะช่วยให้คนเราเดินทางระหว่างดวงดาวได้เพียงสุดสัปดาห์ แต่แน่นอนว่านี่ไม่ใช่ภารกิจที่ง่ายนัก โดยนักวิจัยกลุ่มหนึ่งที่ศึกษาว่าการเดินทางเช่นนี้จะเกิดขึ้นได้อย่างไร นั้น ให้ความเห็นว่าวิทยาศาสตร์ซับซ้อนก็จริง แต่ก็ไม่ทำให้ทุกอย่างเป็นไปไม่ได้เสียทีเดียว

ตามทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) ทำให้มีข้อจำกัดที่ไม่ว่ายานใดๆ ก็ไม่สามารถเร่งความเร้วได้เร็วแสง แต่เรายังพอมีโชคอยู่บ้างเมื่อวัตถุที่อยู่ภายในกาล-อวกาศ (space-time) ซึ่งเป็นความต่อเนื่องแบบ 3 มิติของที่ว่างที่เราอาศัยอยู่รวมเข้ากับเวลานั้น ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้เร็วกว่าแสงตามทฤษฎี แต่ก็เป็นได้ว่ากาล-อวกาศเองอาจจะเคลื่อนที่ได้ :D

" แนวคิดคือคุณต้องใช้ก้อนกาล-อวกาศสักก้อน แล้วทำให้มันเคลื่อนที่ ยานที่อยู่ในภายในไม่ได้เคลื่อนไปไหนทั้งสิ้น แต่เป็นกาล-อวกาศต่างหากที่กำลังเคลื่อนที่" ความเห็นสุดล้ำจาก มาร์ค มิลลิส (Marc Millis) อดีตหัวหน้าโครงการพัฒนาฟิสิกส์แรงขับเคลื่อน (Breakthrough Propulsion Physics Project) แห่งองค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา)

หนึ่งในเหตุผลที่ชวนให้แนวคิดนี้น่าเชื่อถือคือ นักวิทยาศาสตร์เองคิดว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวได้เกิดขึ้นแล้ว บางแบบจำลองชี้ให้เห็นว่า กาล-อวกาศขยายด้วยอัตราเร็วกว่าแสง ในช่วงเวลาของการพองตัวสั้นๆ ทันทีทันใดหลังระเบิดบิกแบง (Big Bang)

"ถ้าสิ่งนี้เกิดขึ้นได้กับบิกแบง และทำไมจะเป็นไปไม่ได้สำหรับยานอวกาศของเรา" มิลลิสให้ความเห็นอย่างเชื่อมั่น

เพื่อทำให้เทคนิคดังกล่าวเป็นไปได้ นักวิทยาศาสตร์ต้องคิดวิธีพัฒนาการขับเคลื่อนที่จะเคลื่อนย้ายกาล-อวกาศ มากกว่าเคลื่อนย้ายยานอวกาศ

ตามทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ศูนย์กลางของมวลหรือพลังงานจะทำให้กาล-อวกาศที่อยู่รอบๆ บิดงอ และด้วยเหตุผลนี้ แรงโน้มถ่วงก็คือความโค้งของกาล-อวกาศซึ่งเป็นสาเหตุให้มวลที่น้อยกว่าตกลง ไปยังมวลมวลที่มากกว่า ดังนั้นเป็นไปได้ว่ารูปทรงเรขาคณิตที่เป็นเอกลักษณ์ของมวลหรือรูปทรงอันแปลก ประหลาดของพลังงานจะเปลี่ยนแปลงฟองของกาล-อวกาศ และทำให้เคลื่อนที่ได้เร็วกว่าแสง แล้วหอบเอาวัตถุที่อยู่ภายในไปด้วย

" หากเราพบวิธีที่จะปรับเปลี่ยนคุณสมบัติของกาล-อวกาศในรูปร่างที่ไม่สมดุล โดยให้ข้างหลังยานอวกาศทำบางสิ่ง และด้านหน้ายานทำอีกสิ่ง เป็นไปได้ไหมว่ากาลอวกาศจะผลักให้ยานเคลื่อนที่ไปข้างหน้า" มิลลิสให้ความเห็น โดยความคิดดังกล่าวถูกนำเสนอขึ้นครั้งแรกในปี 2547 โดยนักฟิสิกส์ชื่อ มิกูเอล อัลกูแบร์ (Miguel Alcubierre)

ตอนนี้บางการศึกษาอ้างว่าได้พบสัญญาณที่เป็นไปได้ในการเคลื่อนกาล -อวกาศ อย่างตัวอย่างเช่น นักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งได้ทดลองหมุนขดลวดที่เย็นยิ่งยวดในห้องปฏิบัติการ พวกเขาพบว่าไจโรสโคปที่อยู่นิ่งเหนือขดลวดนั้นดูคล้ายกำลังหมุนเนื่องจาก ปรากฏการหมุนของขดลวดอยู่เบื้องล่าง ซึ่งนักวิจัยสันนิษฐานว่า ขดลวดเย็นยิ่งยวดนั้นอาจกำลังลากกาล-อวกาศและไจโรสโคปได้รับผลกระทบดังกล่าว

ส่วนการศึกษาอื่นพบว่า ดูเหมือนบริเวณระหว่างแผ่นโลหะซึ่งไม่มีประจุและวางขนานกันนั้นมีพลังงาน น้อยกว่าพื้นที่ซึ่งอยู่รอบๆ ซึ่งนักวิทยาศาสตรืได้ให้นิยามของลักษณะพลังงานดังกล่าวว่าเป็น "พลังงานลบ" (negative energy) ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการเคลื่อนย้ายกาล-อวกาศ ซึ่งอาจต้องใช้พลังงานลบปริมาณมากๆ นี้เอให้เพียงพอต่อการเคลื่อนย้ายฟองกาล-อวกาศให้เร็วกว่าแสง

การค้นพบที่ยิ่งใหญ่นี้ไม่เพียงแค่ต้องการยานขับเคลื่อนแต่ยังต้อง การพลังงาน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญส่วนหนึ่งคิดถึงการใช้ประโยชน์จากพลังงานลึกลับอย่าง "พลังงานมืด" (dark energy) ที่เชื่อว่าเป็นพลังที่เร่งให้เอกภพขยายตัว จะเป็นทางออกของแหล่งพลังงานได้ และแม้ว่าผลเบื้องต้นจากห้องทดลองจะยังห่างไกลกับการพัฒนายานวอร์ปให้เป็น จริง แต่นักฟิสิกส์บางคนก็ยังคงมีความหวัง

" เรายังไม่รู้ว่าสิ่งนี้จะเป็นได้จริงหรือไม่ แต่อย่างน้อยเรามาไกลพอที่จะแตกสลายความไม่รู้ แม้ว่าที่สุดแล้วมันจะเป็นไปไม่ได้ แต่ดูเหมือนว่าเราได้ค้นพบอย่างอื่นที่เราอาจมองข้ามไป" มิลลิสสรุปความเห็นของเขาในแง่บวก

ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.manager.co.th


online-kids
cooking
pogo
playstation2-game-cheats
britney-spears-dress-up
free-online-war
armor
mobile
msn
game-stop

ไขปมเครื่องรางยอดฮิต "ว่านจักจั่น" ที่แท้จักจั่นวัยละอ่อนตายเพราะติดเชื้อรา

ดร.สายัณห์ สมฤทธิ์ผล กับตัวอย่างราแมลงชนิด คอร์ไดเซพ เอสพี (Cordyceps sp.) ที่ขึ้นบนตัวจักจั่น

ตัวอย่าง "ว่านจักจั่น" ที่ชาวบ้านนำมาบูชา และมีการขายทางอินเทอร์เน็ตด้วย ราคาตั้งแต่คู่ละ 199-5,000 บาท

เปรียบเทียบ "ว่านจักจั่น" และ ราแมลงที่ขึ้นบนจักจั่น

ราแมลงที่ขึ้นบนตัวมวน

ราแมลงที่ขึ้นบนหนอนผีเสื้อ

ราบนมด

ราบนจักจั่น

ไบโอเทคออกโรงชี้แจง "ว่านจักจั่น" ที่มีชาวบ้านนำมาบูชา ที่แท้เป็น "จักจั่นติดเชื้อรา" แต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นราชนิดใด พร้อมเตือนประชาชนไม่ควรนำมาบริโภค เพราะอาจแพ้สปอร์เชื้อราหรือสารพิษที่สะสมอยู่ในซากจักจั่นได้ นักวิจัยเตรียมลงพื้นที่ เก็บตัวอย่างว่านจักจั่น หวังนำเข้าห้องแล็บพิสูจน์ชนิดของเชื้อรา คาดอาจพบสารออกฤทธิ์ทางยา ดังที่เคยพบมาแล้วเมื่อปี 44

จากกรณีที่เป็นข่าวหน้าหนึ่ง บนหนังสือพิมพ์หลายฉบับในช่วงไม่นานนี้ที่รายงานว่ามีชาวบ้านแถบภาคตะวันออก เฉียงเหนือแห่ขุดว่านจักจั่นออกขาย และมีประชาชนจำนวนไม่น้อยนิยมซื้อไปบูชา ในราคาตั้งแต่ 199-5,000 บาท เพราะเชื่อว่าเป็นเครื่องรางศักดิ์สิทธิ์ ให้โชคให้ลาภ ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.) จึงได้เปิดเวทีเสวนาเรื่อง "ว่านจักจั่น สิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือความเข้าใจผิด" เมื่อวันที่ 15 มิ.ย.52 ณ อาคาร สวทช. โยธี เพื่อชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับว่านจักจั่น ซึ่งสื่อมวลให้ความสนใจร่วมฟังมากมาย รวมทั้งทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTVผู้จัดการออนไลน์

ดร.สายัณห์ สมฤทธิ์ผล นักวิจัยห้องปฏิบัติการราวิทยา ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีแห่งชาติ (ไบโอเทค) สวทช. เปิดเผยว่า ว่านจักจั่นที่กำลังเป็นที่นิยมบูชาในหมู่ประชาชนกลุ่มหนึ่งนั้น แท้จริงแล้วคือจักจั่นตัวอ่อนที่ตายเนื่องจากติดเชื้อรา ไม่ใช่ว่านหรือพืชชนิดหนึ่งที่มีต้นคล้ายเห็ดอยู่เหนือดินและมีหัวใต้ดิน คล้ายตัวจักจั่นอย่างที่เข้าใจกัน

"ว่านจักจั่นเป็นจักจั่นที่ติดเชื้อราแมลงชนิดหนึ่ง ซึ่งราแมลงมีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ เมื่อจักจั่นตัวอ่อนที่กำลังโผล่ขึ้นจาก ใต้ดินเพื่อเข้าสู่ระยะการลอกคราบ เป็นช่วยที่ร่างกายของจักจั่นมีการเปลี่ยนแปลงจึงทำให้อ่อนแอ ประกอบกับช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่างฤดูฝนที่มีความชื้นสูง จักจั่น จึงมีโอกาสติดโรคจากเชื้อราแมลงได้ง่ายและตายในที่สุด หลังจากนั้นเชื้อราก็จะอาศัยซากจักจั่นในการเจริญเติญโต โดยมีการแทงเส้นใยออกมานอกตัวจักจั่น และเจริญเป็นโครงสร้างสำหรับสืบพันธุ์ ทำให้ดูเหมือนมีเขางอกออกมาจากหัวจักจั่น" ดร.สายันห์ อธิบาย ซึ่งราแมลงนั้นมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับแมลงชนิดอื่นๆ ด้วย เช่น มด แมงมุม เพลี้ย ด้วง แมลงปอ ผีเสื้อ และหนอน

จากการศึกษาในเบื้องต้นนักวิจัยสัณนิษฐานว่าราแมลงในว่านจักจั่น มีลักษณะใกล้เคียงกับเชื้อราสปีชีส์ คอร์ไดเซพ โซโบลิเฟอรา (Cordyceps sovolifera) ที่เคยมีรายงานการค้นราแมลงบนตัวจักจั่นมาก่อนหน้านั้นแล้ว แต่ก็ยังไม่ชี้ชัดว่าใช่ราแมลงที่ทำให้เกิดว่านจักจั่นหรือไม่ ต้องตรวจสอบลักษณะของสปอร์ของเชื้อราในว่านจักจั่นเทียบกับในตำรา ทว่าต้องเป็นว่านจักจั่นที่มีราแก่เท่านั้น แต่โอกาสพบราแก่นั้นค่อนข้างยาก เนื่องจากว่านจักจั่นที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ขุดพบนั้นยังเป็นราอ่อนที่ยังไม่มี การสร้างสปอร์ และเมื่อถูกนำออกมาจากสภาพในธรรมชาติ เชื้อราอ่อนอาจหยุดการเจริญเติบโตและไม่สร้างสปอร์ได้อีก

ส่วนในกรณีที่มีชาวบ้านบางกลุ่มนำว่านจักจั่นมาบริโภคโดยการต้มคล้าย กับยาหม้อ เพราะเชื่อว่าช่วยบำรุงร่างกายได้ แต่มีชาวบ้านหลายรายที่กินเข้าไปแล้วเกิดอาการท้องเสีย นักวิจัยให้ข้อมูลว่าขณะนี้ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าอาการป่วยดังกล่าวเกิดจาก เชื้อรา หรือจักจั่น หรือเป็นผลร่วมกันของทั้งเชื้อราและจักจั่น รวมทั้งอาจเกิดจากสารพิษที่สะสมอยู่ในซากจักจั่นที่อยู่ใต้ดินก็เป็นได้

"โดย ทั่วไปราแมลงจะมีความจำเพาะกับแมลงแต่ละชนิด และไม่เป็นอันตรายกับคน แต่ก็ไม่แนะนำให้รับประทาน เพราะยังไม่รู้ว่าเป็นเชื้อราชนิดไหน สามารถรับประทานได้โดยไม่เป็นอันตรายหรือไม่ เพราะมีเชื้อราเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่สามารถรับประทานได้ และในผู้ที่เป็นภูมิแพ้ก็อาจเกิดอาการแพ้เชื้อราเหล่านี้ได้ ซึ่งการต้มโดยทั่วไปไม่สามารถทำลายสปอร์ของเชื้อราได้ และจากการสืบค้นข้อมูลในประเทศไทยยังไม่พบว่ามีวัฒนธรรมของภูมิภาคใดมีการ บริโภคว่านจักจั่นมาก่อนหน้านี้ นอกจากในประเทศจีนและภูฏานที่มีการบริโภคราแมลงที่รู้จักดีในชื่อว่า "ถั่งเฉ้า" ซึ่งเป็นราแมลงชนิด คอร์ไดเซพ ซินเอนซิส (Cordyceps sinensis) ที่ขึ้นบนหนอนผีเสื้อชนิดหนึ่ง ซึ่งมีการศึกษาวิจัยกันแล้วว่าไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค" นักวิจัยกล่าวเตือน

ส่วนในการนำว่านจักจั่นมาบูชานั้น นักวิจัยไม่แสดงความเห็นใดๆ นอกจากเตือนว่าให้ระมัดระวังในการเก็บรักษา เพราะ หากเก็บรักษาไม่ดี หรืออยู่ในที่มีความชื้นสูง ก็อาจทำให้เกิดเชื้อราชนิดอื่นๆ ขึ้นบนว่านจักจั่นได้ ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย หากสปอร์ของเชื้อราเหล่านี้ผ่านเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ

อย่างไรก็ตาม ดร.สายัณห์ ให้ข้อมูลอีกว่า นักวิทยาศาสตร์ก็เคยพบราที่เจริญเติบโตขึ้นบนตัวจักจั่นมานานแล้ว ไม่ใช่เพิ่งเคยเกิดขึ้นในกรณีของว่านจักจั่นที่กำลังเป็นข่าวฮือฮาอยู่ในขณะ นี้ เช่น คอร์ไดเซพ นิปปอนนิกา (Cordyceps niponnica) ราแมลงบนตัวจักจั่นที่พบครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น และทีมวิจัยไบโอเทคพบครั้งแรกในไทยเมื่อปี 2544 ในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เมื่อนำมาวิจัยสกัดสารสำคัญ เพื่อทดสอบหาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ พบว่าสารบางชนิดมีฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเรียได้ ซึ่งนักวิจัยให้ชื่อสารชนิดนี้ว่า คอร์ไดไพริโดเนส เอ-ดี (Cordypyridenes A-D) และได้มีการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติไปแล้ว ขณะที่ไบโอเทคได้มีการเก็บตัวอย่างราแมลงที่พบในประเทศไทยเอาไว้แล้วถึงกว่า 40,000 สายพันธุ์ โดยแยกได้เป็นราแมลงกว่า 400 ชนิด และในจำนวนนี้เป็นชนิดใหม่ถึง 150 ชนิด

ดร.สายัณห์ กล่าวกับทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV ผู้จัดการออนไลน์ อีกว่าในขั้นต่อไปจะลงพื้นที่ไปเก็บตัวอย่างว่านจักจั่นมาศึกษา ซึ่งมักพบในพื้นที่ที่มีระบบนิเวศเชิงเดี่ยวเชิงเดี่ยว เนื่องจากมีความหลากหลายทางชีวภาพต่ำ จึงมีโอกาสสูงที่จะเกิดโรคระบาดในจักจั่น และพบว่านจักจั่นเป็นจำนวนมาก โดยนักวิจัยจะศึกษาเพื่อระบุชนิดของเชื้อราให้ได้ก่อนจากสปอร์ของเชื้อที่มี อยู่ในราแก่ หากลักษณะของสปอร์เหมือนกันในตำรา ก็ใช้เวลาในการพิสูจน์ชนิดของเชื้อเพียงวันเดียว แต่หากไม่เหมือนกับข้อมูลที่มีอยู่ อาจต้องศึกษาถึงระดับพันธุกรรม ซึ่งหากเป็นราชนิดใหม่ก็จะใช้เวลานานกว่านั้นในการระบุชนิดของเชื้อ และจะศึกษาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในเชื้อราดังกล่าวด้วย รวมทั้งการศึกษาเพื่อนำมาใช้ในการควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยวิธีทางชีวภาพ

นอกจากนี้จะร่วมมือกับนักกีฏวิทยาที่อยู่ในโครงการพัฒนาองค์การความ รู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย (โครงการบีอาร์ที) เพื่อศึกษาชนิดและสายพันธุ์ของจักจั่นที่เป็นที่มาของว่านจักจั่น ว่าเป็นจักจั่นชนิดใด มีวงจรชีวิตเป็นอย่างไร และมีโอกาสเกิดราแมลงระบาดได้ในช่วงเวลาใดบ้าง ซึ่งจากที่เคยมีการศึกษามาแล้วพบว่าตัวอ่อนของจักจั่นที่อาศัยอยู่ใต้ดิน นั้นมีอายุตั้งแต่ 2-17 ปี ขึ้นอยู่กับชนิดและสายพันธุ์ของจักจั่น.


ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.manager.co.th


big-fish
video
free-arcade-online
free-internet
free-sims-2-game-download
baby-shower
nintendo-wii
free-online-adventure
wii
free-downloadable

อากาศเปลี่ยนอย่าโทษดาว



สมาคม ดาราศาสตร์ไทยรายงานว่า ลมฟ้าอากาศของ โลกเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอนับตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์มา สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงยังไม่มีใครทราบ ทฤษฎีหนึ่งที่เสนอโดย เนียร์ ชาวีฟ และ แจน ไวเซอร์ กล่าวว่า ความเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของอากาศโลกในช่วง 500 ล้านปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่ง ซึ่งอาจมากราวสองในสามจนถึงสามในสี่ เกิดจากการที่ระบบสุริยะเคลื่อนที่ผ่านเข้าไปในแขนต่างๆ ของดาราจักรทางช้างเผือก

ทฤษฎีนี้ดูมีหลักฐานสนับสนุนที่ดี เพราะพบว่าการเปลี่ยนแปลงบรรยากาศโลกในอดีตมีคาบประมาณ 140 ล้านปี สอดคล้องกับความถี่ของการที่ระบบสุริยะเคลื่อนที่ผ่านเข้าไปในแขนของดารา จักร

แนวคิดพื้นฐานของทฤษฎีนี้คือ เมื่อระบบสุริยะเคลื่อนที่ผ่านเข้าไปในแขนของดาราจักรทางช้างเผือก ปริมาณรังสีคอสมิกที่โลกได้รับจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก เนื่องจากในแขนของดาราจักรจะมีซูเปอร์โนวามากกว่าที่ว่างระหว่างแขน สิ่งนี้มีผลต่อการกำเนิดเมฆเพิ่มขึ้นและทำให้ความรุนแรงของปฏิกิริยา เรือนกระจกรุนแรงขึ้น

นักวิทยาศาสตร์ประเมินความถี่ของเหตุการณ์นี้โดยอาศัยสัณฐานของดาราจักรทาง ช้างเผือกตามผังดาราจักรที่เคยสำรวจในอดีต ซึ่งโครงสร้างของทางช้างเผือกตามที่เข้าใจก่อนหน้านี้คือ เป็นดาราจักรแบบก้นหอยที่มีสี่แขน

แต่นับจากปี 2546 นักดาราศาสตร์ได้มีการปรับปรุงแผนที่ดาราจักรใหม่ให้สอดคล้องกับข้อมูลการ สำรวจ โครงสร้างของดาราจักรตามที่ประเมินใหม่นี้ต่างจากความเข้าใจเดิมอยู่พอสมควร โดยเฉพาะในปี 2551 ข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ เผยว่า ทางช้างเผือกแท้จริงมีแขนสองแขน และเป็นชนิดก้นหอยมีคาน นอกจากนี้ ในปี 2552 ก็มีข้อมูลเพิ่มเติมมาอีกว่า ดาราจักรของเรามีมวลมากกว่าที่เคยคิดไว้มาก และเคลื่อนที่เร็วกว่าที่เคยเข้าใจด้วย นั่นหมายความว่า ระยะเวลาและความถี่ที่โลกจะผ่านไปยังแขนต่างๆ ของดาราจักรที่เคยคำนวณไว้ย่อมเปลี่ยนไปด้วย

"แม้งานวิจัยก่อน หน้านี้จะพบความสอดคล้องกันระหว่างคาบ 140 ล้านปีของการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศกับคาบการเคลื่อนฝ่าเข้าไปในแขนดาราจักร ของโลก แต่ข้อมูลใหม่เกี่ยวกับโครงสร้างของดาราจักรทางช้างเผือกนี้ ทำให้ความสัมพันธ์ดังกล่าวหายไปทันที" จากรายงานการวิจัยที่เขียนโดย เอเดรียน เมอลอตต์, แอนดรู โอเวอร์โฮลต์ และ มาร์ติน พอห์ล

ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.matichon.co.th/khaosod


fun
download
girl
flash
math
ben-10
kids
pc-game-cheats
free-full-version-download
free-pc-download

เต่าทองบุก

เต่าทองบุก




แมลง เต่าทองกว่า 10 ล้านตัวบุกเข้าไปอยู่ในฟาร์มแห่งหนึ่งในเมืองคอมบีเซนต์นิโคลัส ประเทศอังกฤษ เนื่องจากชาวไร่ในบริเวณนั้นปลูก "ซีดัม" ต้นกระบองเพชรที่มีลักษณะคล้ายหญ้าที่ใช้ทำเป็นหลังคาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวด ล้อม "ซีดัม" เป็นอาหารที่แมลงเต่าทองชอบ






ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.matichon.co.th/khaosod

games
game-cheats
free-online
free
online
addicting
yahoo
video-game-cheats
free-game-downloads
dress-up

Hello

bountontapevong